มีวิธีรับมืออย่างไรเมื่อสัตว์พาหะรบกวน และมีมาตรการป้องกันอย่างไรบ้าง?
ในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ การควบคุมสุขอนามัยและสภาพแวดล้อมให้สะอาดและเหมาะสมเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก หากพบการปนเปื้อนที่มาจากสัตว์พาหะนั้นอาจไม่เป็นผลดีกับผู้บริโภค และตัวของโรงงานเอง ดังนั้นควรจะมีการกำกับและควบคุม ป้องกันไม่ให้มีสัตว์พาหะเหล่านี้ภายในโรงงาน ซึ่งสัตว์พาหะนั้นมีอะไรบ้างและ Diamond Pest มีวิธีการป้องกันอย่างไร มาทำความเข้าใจไปพร้อมกันได้เลย
สัตว์พาหะและควบคุม – กำจัด มีดังนี้
หนู
- ภายนอกอาคาร ออกแบบระบบป้องกัน ติดตั้งสถานีเหยื่อพิษหนู และเปลี่ยนเหยื่อพิษ
- ภายในอาคาร ออกแบบระบบป้องกัน ติดตั้งสถานีกล่องกาวดักหนู และเปลี่ยนแผ่นกาว
- สถานีเหยื่อพิษผลิตจากวัสดุพลาสติกประเภท PP มีความคงทนต่อแสงแดดในเมืองไทย
- มีกุญแจสำหรับ Lock เพื่อความปลอดภัย
แมลงสาบ
- ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงสาบ โดยใช้ “Clean-Out Program” ซึ่งเป็นวิธีการที่ทางบริษัทฯ คิดค้นรูปแบบการทำบริการแบบพิเศษ ที่ทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดปัญหาแมลงสาบในพื้นที่
- การใช้เหยื่อพิษแมลงสาบ ในพื้นที่ที่ไม่สามารถฉีดพ่นสารเคมีประเภทน้ำได้
- -การใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงสาบประเภท “Food Grade” เพื่อลดปัญหาเรื่องการปนเปื้อนเคมีอันตรายในพื้นที่การผลิต
มด
- ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดมดบริเวณแหล่งเพาะพันธุ์
- การใช้เหยื่อพิษแมลงมดประเภทน้ำเชื่อม และแบบเม็ด
แมลงคลานอื่น ๆ
- ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงคลานอื่น ๆ บริเวณแหล่งเพาะพันธุ์
แมลงบิน เช่น แมลงวัน แมลงหวี่ ยุง และแมลงบินอื่น ๆ
- ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงบินบริเวณแหล่งเกาะพักภายนอกอาคาร และใต้ถุนอาคาร
- ฉีดพ่นสารเคมีประเภทควันบริเวณรางระบายน้ำ และใต้ถุนอาคาร
- การใช้เหยื่อพิษแมลงวัน ในพื้นที่ที่มีการระบาดภายนอกอาคาร
- การใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงบินประเภท “Food Grade” ภายในอาคารเพื่อลดปัญหาเรื่องการปนเปื้อนเคมีอันตรายในพื้นที่การผลิต
- การใช้กับดักกลไกในการกำจัดแมลงวันบริเวณแหล่งเกาะพัก
- การใช้กับดักยุง ร่วมกับสารดึงดูดยุง เพื่อกำจัดยุงภายใน และภายนอกปอาคาร
ปลวก
- การใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดปลวกฉีดอัดบริเวณรังปลวก เพื่อกำจัดปลวกบริเวณภายนอกอาคาร โดยใช้สารเคมีที่เป็นผลิตภัณฑ์กำจัดปลวกโดยเฉพาะ และขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยาประเทศไทย
- การใช้เหยื่อปลวก (มีผลเฉพาะปลวกอย่างเดียว) เพื่อกำจัดปลวกบริเวณภายในอาคาร ซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดมากกว่า 95% กับปลวกสายพันธุ์ Coptotermes (ปลวกใต้ดิน) และใช้เวลาการกำจัดประมาณ 45 – 90 วัน (ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของเหยื่อปลวก)
วิธีการป้องกันและมาตรการป้องกันสัตว์พาหะ
- จัดหาบริษัทเพื่อปรึกษาและวางมาตรการป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะ
- จัดการฝึกอบรมให้ความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะขั้นพื้นฐานให้แก่บุคลากร
- วางกฎระเบียบเพื่อควบคุมพื้นที่บริเวณรอบโรงงานให้สะอาด เพื่อลดโอกาสการบุกรุกจากสัตว์พาหะ
- มีการควบคุมทรัพยากรให้เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ
การป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะนั้นเป็นส่วนสำคัญที่ของโรงงานอุตสาหกรรมประเภทสินค้าบริโภค ควรจะต้องจัดให้ดีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์จนก่อให้เกิดอันตรายหรือแพร่กระจายโรคต่าง ๆ จากสัตว์พาหะไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งการป้องกันและกำจัดนั้นควรจะต้องมีการจัดทำแผนการควบคุมอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นบริหารจัดการกันเองภายในองค์กร หรือโดยการจ้างบริษัทภายนอกที่มีความชำนาญมาดูแล ในส่วนของพนักงานเองก็จะต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ของตน ควบคู่กับการปฏิบัติตามแผนการป้องกันสัตว์อย่างเคร่งครัด